ประวัติความเป็นมา
พ.ศ.๒๔๖๒ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม กองทัพบกได้มีคำสั่งทหารบกที่ ๑๗๘/๒๐๖๙๘ ให้จัดตั้ง
"กองบินใหญ่ทหารบกที่ ๒"
ขึ้นที่บริเวณโรงเก็บเครื่องบินหมายเลข ๔ (ปัจจุบันคือ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย)
โดยมี ร้อยเอก เหม ยศธร เป็นผู้บังคับการ มีเครื่องบินทิ้งระเบิด
แบบ ท.๑ เบรเกต์ (BREGUET) ปีก ๒ ชั้น จำนวน ๕ เครื่อง
และเครื่องบินขับไล่ ๒ ที่นั่ง แบบ ข.๒ นิเออร์ปอตเดอลาจ (NIEUPORT) จำนวน ๔ เครื่อง
มีนายทหารสัญญาบัตร ๕ นาย ประทวน ๕ นาย และ พลทหาร ๒ นาย ประจำการเท่านั้น
ปี พ.ศ.๒๔๖๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองบินใหญ่ที่ ๒" และกระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งตั้งฝูงบินที่ ๑๐
ขึ้นอีก ๑ ฝูงบิน ให้ นายร้อยโท กาพย์ ทัตตานนท์ เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับฝูงบิน
พ.ศ.๒๔๖๘
ย้ายที่ทำการจากโรงเก็บเครื่องบินหมายเลข ๔ ไปยังโรงเก็บที่สร้างขึ้นใหม่ด้านตะวันออก ปัจจุบันคือ ที่ตั้งกองบิน ๖
พ.ศ.๒๔๖๙
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองบินน้อยที่ ๑ ของกองบินใหญ่ที่ ๒" ประกอบด้วย ฝูงศึกษาฝูงบินที่ ๑๑ และ ฝูงบินที่ ๑๒
พ.ศ.๒๔๗๔
วันที่ ๑๒ ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับจากต่างประเทศ เข้าสู่พระนคร
เนื่องในการนี้ กรมอากาศยานได้กำหนดให้จัดส่งเครื่องบิน เบรเกต์ ๓ เครื่อง บินไปต้อนรับเสด็จที่จังหวัดสมุทรปราการ
และบินชลอเรือพระที่นั่งเข้ามายังท่าราชวรดิษฐ์
พ.ศ.๒๔๗๖
มีคำสั่งทหารให้เปลี่ยนนามของเหล่าของกรมทหารอากาศ กองบินน้อยที่ ๑ ของ กองบินใหญ่ที่ ๒ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "กองบินน้อยที่ ๒"
ประกอบด้วย ๓ ฝูงบิน คือ ฝูงบินที่ ๑ ฝูงบินที่ ๒ และฝูงบินที่ ๓
พ.ศ.๒๔๘๐
กรมทหารอากาศ ยกฐานะเป็น กองทัพอากาศ (๙ เมษายน ของทุกปี วันกองทัพอากาศ) มีพระเวชยันรังสฤษ
(พล.อ.ท.มุนีมหาสันทนะเวชยันต์รังสฤษฎ์)เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศท่านแรก(พ.ศ.๒๔๘๐ - ๒๔๘๔) โดยมีกองบินน้อยที่ ๒
ขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ และ จัดส่วนราชการเป็น ๓ ฝูงบิน
-พ.ศ.๒๔๘๑
จอมพล ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอก พระเวชยันรังสฤษ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ได้เล็งเห็นความจำเป็นในอนาคต จึงได้สร้างสถานที่ทำการให้กับกองบินน้อยที่ ๒ แห่งใหม่ ณ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
และได้สั่งให้ย้ายกองบินน้อยที่ ๒ จากดอนเมือง เข้าที่ตั้งใหม่ เสร็จเรียบร้อยในปลายปีเดียวกัน
พ.ศ.๒๔๘๓
ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ตั้ง พลตรี หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและแม่ทัพบก
พลเรือตรี หลวงสินธุ์สงครามชัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นแม่ทัพเรือ นาวาอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช รองผู้บัญชาการทหารอากาศ
เป็น แม่ทัพอากาศ
เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ กรณีพิพาทอินโดจีน กองบินน้อยที่ ๒ ได้ส่งเครื่องบินและเจ้าหน้าที่ออกไปปฏิบัติราชการ เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ
ทางภาคตะวันออกและภาคเหนือของประเทศ
พ.ศ.๒๔๘๙
ประเทศไทยประกาศยกเลิกสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร การประกาศสงครามถือเป็นโมฆะ ในขณะนั้นเศรษฐกิจของประเทศกำลังตกต่ำ
กองบินน้อยที่ ๒ ได้รับผลกระทบนี้ด้วย จึงจำเป็นต้องปลดและย้ายข้าราชการบางส่วน ไปบรรจุในกองบินลำเลียง (คือ กองบิน ๖ ในปัจจุบัน)
พ.ศ.๒๔๘๙
ประเทศไทยประกาศยกเลิกสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร การประกาศสงครามถือเป็นโมฆะ ในขณะนั้นเศรษฐกิจของประเทศกำลังตกต่ำ
กองบินน้อยที่ ๒ ได้รับผลกระทบนี้ด้วย จึงจำเป็นต้องปลดและย้ายข้าราชการบางส่วน ไปบรรจุในกองบินลำเลียง (คือ กองบิน ๖ ในปัจจุบัน)
พ.ศ.๒๔๙๔
กองทัพอากาศได้อนุมัติให้ กองบินน้อยที่ ๒ สร้างทางวิ่งสาย ๑๖ - ๓๔ ขึ้นใหม่ โดยลงหินราดลูกรังบดทับแน่น กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๑,๒๐๐ เมตร
พ.ศ.๒๔๙๕
กองบินน้อยที่ ๒ ได้รับเครื่องบิน แบบ ข.๑๕ ( F-8 F ) BEARCAT บรรจุเข้าประจำการในฝูง ๒๓ อีก ๑ ฝูง ผู้บังคับบัญชา
ได้เล็งเห็นความจำเป็นในเรื่องสนามบินที่จะมารองรับกับเครื่องบินสมัยใหม่ จึงได้อนุมัติให้กองบินน้อยที่ ๒ แก้ไขปรับปรุงทางวิ่งสาย ๑๖ - ๓๔
โดยสร้างให้เป็นทางวิ่งลงหินลาดยางแอสฟัลต์ แทน และได้สร้างกองร้อยทหาร กับหอบังคับการบินขึ้น ๑ หลัง เพื่อใช้ราชการในการบังคับการบิน
พ.ศ.๒๔๙๖
กองบินน้อยที่ ๒ ได้สร้างโรงเรียนประชาบาล กองบินโคกกะเทียมขึ้น เพื่อให้บุตรหลานข้าราชการได้รับการศึกษาเล่าเรียนใกล้บ้าน
ไม่ต้องเดินทางไกลไปโรงเรียนในตัวจังหวัด
พ.ศ.๒๔๙๙
วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ กองบินยุทธการได้จัดให้มีการแข่งขัน การทิ้งระเบิด และยิงจรวด ( GUNNERY MEETING )
และกำหนดให้กองบินน้อยที่ ๒ เป็นหน่วยบริการในการแข่งขัน กองบินน้อยที่ ๒ ได้ส่งเครื่องบินเข้าแข่งขันด้วย คือ บน.๒ ฝูง ๒๓
ผลการแข่งขันปรากฎว่า บน.๒ ฝูง ๒๓ ได้แต้มรวมชนะเลิศการแข่งขัน
พ.ศ.๒๕๐๖
ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม กองบินน้อยที่ ๒ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นครั้งสุดท้ายว่า ( กองบิน ๒ ) และได้รับการบรรจุฝูงบินสนามขึ้นอีก ๓ ฝูงบิน
คือ ฝูงบินผสม ๒๒๑ ฐานบินเชียงใหม่ , ฝูงบินผสม ๒๒๒ ฐานบิน อุบล ฯ และ ฝูงบินผสม ๒๒๓ ฐานบินอุดร ฯ ส่วนที่ตั้ง
ณ กองบิน ๒ จ.ลพบุรี คือ ฝูงบินผสม ๒๒๔
พ.ศ.๒๕๒๐
กองบิน ๒ ได้รับการบรรจุฝูงบิน ๓ ฝูงบิน คือ ฝูงบิน ๒๐๑ , ฝูงบิน ๒๐๒ และ ฝูงบิน ๒๐๓ และมีฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามชายแดนอีก ๒ ฝูงบิน
คือ ฝูงบิน ๒๐๖ วัฒนานคร และ ฝูงบิน ๒๐๗ จังหวัด ตราด
พ.ศ.๒๕๒๐
กองทัพอากาศมีคำสั่งให้ ยกฐานะ ฝูงบินผสม ๓ ฝูงบิน ที่ขึ้นตรงกับ บน.๒ ขึ้นเป็น กองบินใหม่ คือ ฝูงบินผสม ๒๒๑
ฐานบินเชียงใหม่ เป็น กองบิน ๔๑ จังหวัดเชียงใหม่ ( ๑ ต.ค.๒๕๒๐ วันสถาปนา บน.๔๑ )
ฝูงบินผสม ๒๒๒ ฐานบินอุบล ฯ เป็น กองบิน ๒๑ จังหวัดอุบลราชธานี ( ๑ ต.ค. ๒๕๒๐ วันสถาปนา บน.๒๑ )
ฝูงบินผสม ๒๒๓ ฐานบินอุดร ฯ เป็น กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี ( ๑ ต.ค. ๒๕๒๐ วันสถาปนา บน.๒๓ )
โดยใช้อัตรากำลังพลฝูงบินจากกองบิน ๒ เป็นหลัก
และได้ปรับอัตรากองบิน ๒ ใหม่เป็น ๓ ฝูงบิน ดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง กองบิน ๒ ได้ถือเอา
" วันที่ ๑๖ ธันวาคม ของทุกปี "
เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองบิน ๒ จนถึงปัจจุบัน